วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ผลไม้ต้านโรค

กล้วย

กินกล้วยต้านโรค (Lisa)
    กล้วย มีกำเนิดอยู่ทางเอเชียตะวันออกเฉียงได้หลายพันปี หลายปีมาแล้ว เชื่อกันว่ากล้วยเป็นผลไม้ชนิดแรกที่คนปลูก เพื่อเป็นอาหาร ประเทศไทยเราชื่อแน่ว่าปลูกกล้วยกินมานานมากแล้ว จดหมายในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อ 300 กว่าปีมาแล้วก็กล่าวถึงเรื่องของกล้วย และยังมีผู้สำรวจและกล่าวว่ากล้วยหลาย 10 พันธุ์มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย แต่คนไทยกลับนิยมกินกล้วยกินน้อยมาก บางคนดูถูกด้วยซ้ำว่าเป็นผลไม้ของคนยาก เนื่องจากราคาถูก จึงถูกจัดให้เป็นผลไม้เกรดต่ำ นำมาขึ้นโต๊ะรับแขกไม่ได้ แขกจะถูกแย่ว่าเลี้ยงกล้วย ต้องไปหาผลไม้แพงๆ ซึ่งความจริงผลไม้ไทยๆ อย่างกล้วยนี้ สุดยอดวิตามินเชียวล่ะ


กินกล้วยต้านโรค (Lisa)          
    จริง ๆ แล้ว ไม่เกินเลยความจริงเลย กล้วยผลไม้ไทย ๆ ของเรานี่แหละใช้เป็นยาป้องกันและรักษาโรคได้หลายโรค และยังเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีสารอาหารครบทุกชนิดที่ร่างกายต้องการ คือมีทั้ง โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน เกลือแร่ วิตามิน และน้ำ โดยเฉพาะกล้วยน้ำว้าเป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง และยังมีคุณสมบัติที่ย่อยง่าย ทางการแพทย์จึงได้เลือกให้กล้วยน้ำว้าสุกเป็นอาหารเสริมในวัยทารก
     น้ำตาลที่เกิดขึ้นจากขบวนการเปลี่ยนแปลงของแป้ง ขณะที่กล้วยสุกก็มีคุณสมบัติพิเศษ คือ เมื่อกล้วยตกไปถึงลำไส้จะทำให้ลำไส้มีฤทธิ์เป็นกรด ซึ่งจะเป็นตัวช่วยให้แคลเซียมถูกดูดซึมง่ายและสมบูรณ์ขึ้น จึงนับว่าน้ำตาลในกล้วยมีคุณค่ากว่าน้ำตาลที่ได้จากธัญพืชอื่น ๆ
สารอาหารโปรตีน

     ที่มีอยู่ในกล้วยน้ำว้า เป็นโปรตีนที่มีกรดอะมิโนที่จำเป็นสำหรับเราอยู่หลายชนิด  โดยเฉพาะมีกรดอะมิโนที่มีชื่อว่า อาร์จินิน และ ฮีสติดีน ซึ่งกรดอะมิโนทั้ง 2 ตัวนี้ เป็นกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของทารก
     นอกจากโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตแล้ว ในกล้วยแต่ละชนิดยังมีไขมันแม้จะอยู่ในปริมาณที่น้อยก็ตามกล้วยแต่ละชนิดจะให้โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน ในปริมาณที่แตกต่างกัน จะเปรียบเทียบให้เห็นชัดเจนจากตาราง โดยเปรียบเทียบจากเนื้อกล้วยในปริมาณ 100 กรัม เท่าๆ กัน
     ส่วนวิตามินนั้น มองดูผิวเผิน กล้วยแต่ละชนิดสีขาวๆ ทั้งนั้นไม่น่าจะให้วิตามินเอเลย แต่ในกล้วยก็มีวิตามินเออยู่ด้วย แม้จะไม่มากเท่าวิตามินเอที่ได้จากมะละกอหรือมะม่วงสุก แต่ก็มีวิตามินเอมากกว่าผลไม้อีกหลาย ๆ ชนิด เช่น ชมพู่ ส้มโอ น้อยหน่า เป็นต้น ในบรรดากล้วยทุกชนิดนั้น กล้วยน้ำว้าจะมีวิตามินเอมากกว่าเพื่อน สำหรับวิตามินตัวอื่น กล้วยก็มีอยู่ครบทุกชนิดเช่นกัน ทั้งวิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินซี และไนอะซิน
 



แตงโม  

     - อมน้ำแตงโมบ่อยๆแก้แผลในปากได้ 
     - ดื่มน้ำแตงโมคั้นจะช่วยบรรเทาอาการลิ้นแห้ง คอแห้ง วิงเวียน นอนไม่หลับ เปลือกแตงโม  
     - แก้ไตอักเสบ บวมน้ำ ใช้เปลือกแตงโมตากแห้งหนัก 40 กรัม ร่วมกับหญ้าคาสด หนัก 60กรัม ต้มน้ำแบ่งกิน ครั้งใน วัน 
     - แก้เบาหวาน ใช้เปลือกแตงโมและเปลือกฟักเขียวอย่างละ 30 กรัม ต้มน้ำดื่มวันละ3 ครั้ง  
     - ริมฝีปากแตก เจ็บคอ เอาเปลือกแตงโมแห้ง 30กรัม ต้มน้ำดื่มติดต่อกันหลายๆวัน 
     - ปวดฟัน เอาเปลือกแตงโมตากแห้งจำนวนพอเหมาะ บดผสมกับเกล็ดการบูร ทาบริเวณฟันที่ปวด 
     - ปวดเอว ยืดหดตัวไม่ได้ เอาเปลือกแตงโมเขียวๆ ที่ตากแห้งในร่มบดผสมเกลือกิน 

ข้อควรระวัง 
     - หากกินแตงโมมากเกินไป อาจทำให้อาหารไม่ย่อยหรือท้องเสียได้ 
     - ผู้ที่มีอาการม้ามพร่อง คือมีอาการร้อนใน มีไข้สูง ปวดหัว ท้องผูก คอแห้ง กระหายน้ำ ตัวร้อน เหงื่อออก ตาแดง ปากเหม็น ลิ้นแห้ง มีฝ้าสีเหลือง ปัสสาวะสีเข้มและน้อย ห้ามกินแตงโม 



มะละกอ



   - ตากแห้ง บดเป็นผง 9 กรัม กินขณะท้องว่าง ตอนเช้าแก้พยาธิตัวตืด พยาธิตัวกลม
   - ตากแห้งบดเป็นผงละเอียด ใช้โรยบริเวณผิวหนังที่อักเสบ เป็นผื่นแดง ตุ่มพุพองและแสบคัน วันละ 2-3 ครั้ง จะช่วยรักษาให้หายได้
   -ใบ ใช้พอกแผลมีหนอง กลาก เกลื้อน และแก้บวม ปวด เจ็บ
   -ยาง ใช้ย่อยเนื้อ ทำให้เนื้ออ่อนนุ่ม ช่วยย่อยอาหาร ย่อยคราบเลือดและหนองที่แผลเน่าเปื่อยเรื้อรัง ขับพยาธิและขับประจำเดือน ทากันหูด ตาปลา ติ่งและ จุดด่างดำ
  -เมล็ด ขับพยาธิ ขับประจำเดือน ขับลม ใช้ทาแก้กลากเกลื้อนและโรคผิวหนัง
  -ราก ขับปัสสาวะ ขับประจำเดือน
  -ดอก ใช้ชงน้ำดื่ม ขับประจำเดือน แก้ไข้ ดีซ่าน ต้มใส่น้ำตาลกินแก้โรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจผิดปกติ


ลำไย 



   - มีสรรพคุณในการบำรุงหัวใจ บำรุงเลือด บำรุงประสาท และช่วยย่อยได้เป็นอย่างดี
   - ผู้มีร่างกายอ่อนแอ โดยเฉพาะผู้ที่เพิ่งฟื้นจากโรคภัยไข้เจ็บ หรือหลังคลอดบุตร กินลำไยกับต้มจืดจะทำให้ร่างกายแข็งแรง
   - ผู้มีอาการประสาทอ่อนๆ ประสาทเครียด ขี้ลืม นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย เหงื่อออกมา เอาเนื้อลำไยแห้งต้มกับน้ำตาลทรายขาว แล้วเคี่ยวจนเหนียวข้น กินวันละ 2 ครั้ง จะแก้อาการดังกล่าวได้



ส้ม 


   - ทำให้ปอดชุ่มชื้น แก้ไอ แก้กระหายน้ำ แก้ฤทธิ์สุรา ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ ช่วยให้เลือดลมเดินสะดวก

   - มีผลต่อการรักษาโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ โรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน โรคกระเพาะเรื้อรัง อาหารไม่ย่อย

   - กินส้มกับกล้วยหอม วันละ 3 ผล เป็นประจำทุกวัน และกินผักสดให้มาก จะช่วยลดความดันโลหิตสูง

   - กินส้มครั้งแรก 3-4 ผล หลังจากนั้น 1-2 ผล วันละ 3 ครั้ง จะช่วยบรรเทาอาการร้อนในกระหายน้ำ คอแห้ง และปัสสาวะเหลือง

   - ไอเรื้อรัง มีเสมหะมาก ใช้ส้ม 1 ผล  ไม่ต้องปอกเปลือก น้ำตาลกรวด 15 กรัม ขิงสด 2 แว่น ที่หั่นบางๆแล้ว เอาไปตุ๋นนาน 1 ชั่วโมง กินทั้งเปลือกอาการดังกล่าวจะลดน้อยและค่อยหายไป

   - เมาค้าง ดื่มน้ำส้มคั้น 1 แก้ว จะช่วยให้หายเมาค้างได้
   - ใช้เปลือกส้มแช่ในน้ำที่อาบหรือล้างหน้า แล้วใช้น้ำนั้นอาบหรือล้างหน้าเป็นประจำ
   - หลอดลมอักเสบ เปลือกส้มตากแห้ง หนัก 30 กรัม กับกระเทียม 15 กรัม นึ่งให้สุกแล้วกิน จะรู้สึกดีขึ้น

แอปเปิ้ล


   - ทำให้ปอดชุ่มชื้น ช่วยย่อยสารอาหาร ลดกรดในกระเพาะ บำรุงกระเพาะอาหาร บำรุงกำลัง ละลายเสมหะ ขับร้อน
   - มีคุณค่าในทางเป็นยา ดังภาษิตที่ว่า กินแอปเปิ้ลวันละผลไม่ต้องไปหาหมอ
   - เนื้อแอปเปิ้ลที่เป็นเส้นใยจะทำหน้าที่ถูขัดฟันได้เป็นอย่างดี การเคี้ยวจะทำให้ฟันและเหงือกเรียบ และยังสามารถที่จะกำจัดเชื้อแบคทีเรียในปากได้ด้วย
   - ผู้ที่กินแอปเปิ้ลเป็นประจำ วันละผล จะเป็นโรคปวดศรีษะน้อยกว่าผู้ที่ไม่ได้กิน
   - กินแอปเปิ้ลวันละผลหลังอาหารหรือก่อนนอน จะช่วยให้หายจากเลือดออกตามไรฟัน
   - เอาเปลือกแอปเปิ้ลสดมาต้มน้ำดื่มกิน แก้อาการคลื่นไส้ และมีเสมหะได้ผลชะงัก   


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น